วันที่ 22 สิงหาคม 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 (2nd National Education Assembly) ภายใต้แนวคิด “All for Education จับมือไว้ สร้างการศึกษาไทยไปด้วยกัน” พร้อมด้วย ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา ดร.นิติ นาชิต รองเลขาธิการสภาการศึกษา นายธฤติ ประสานสอน รองเลขาธิการสภาการศึกษา นางอำภา พรหมวาทย์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา นายสุรศักดิ์ มุกประดับ ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายสมัชชาสภาการศึกษาจังหวัด ผู้แทนจากองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคศาสนา ภาคประชาชน จำนวน 600 คน จาก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ร่วมประชุมหารือ ณ ห้องประชุมปทุมมาศ อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จ.ปทุมธานี ควบคู่กับการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook : สภาการศึกษา
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ กล่าวว่า การจัดการประชุมสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2
(2nd National Education Assembly ) All for Education จับมือไว้ สร้างการศึกษาไทยไปด้วยกัน” เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมที่การจัดงานในครั้งนี้สะท้อนความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งความคิดเห็นของทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดหรือในพื้นที่จะถ่ายทอดไปสู่ส่วนภูมิภาค จังหวัด จนเกิดเป็นรูปธรรมผ่านมติสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติที่กำลังจะรับรองร่วมกันในวันนี้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะได้รับฟังเสียงสะท้อนการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศอย่างต่อเนื่องต่อไป
ดร.อรรถพล สังขวาสี ได้กล่าวรายงานการประชุมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่า การจัดงานสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติในครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยมีความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทางการศึกษาที่เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ได้แก่ อนุกรรมการด้านเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ สมาคมสภาการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี สภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ สภาพัฒนาการศึกษากาฬสินธุ์กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และมูลนิธิสตาร์ฟิช เอ็ดดูเคชั่น จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา โดยงานในวันนี้จะเป็นเวทีกลางเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมโยง พัฒนาเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็ง และนำฉันทามติจากสมัชชาสภาการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เชื่อมโยงต่อไปจนถึงระดับชาติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการนี้ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ABE การศึกษาเชิงพื้นที่ขับเคลื่อนการศึกษาระดับชาติ” ซึ่งมีใจความสำคัญว่า กุญแจสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็คือ การศึกษาที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการตามบริบทของพื้นที่แตกต่างกัน การศึกษาเชิงพื้นที่ หรือ Area Based Education : ABE เป็นคำตอบของการให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่หรือในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการจัดการศึกษา โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ โดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน กำกับ ดูแลอำนวยความสะดวกให้กับพื้นที่เข้ามาร่วมดำเนินการ ซึ่งการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สำหรับโลกยุคใหม่จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียน เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการพยายามผลักดันให้เกิดกลไกของ “สมัชชาการศึกษา” ให้ครบทุกจังหวัด เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจทางการศึกษาภายใต้หลักการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกันขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตอบสนองกับความต้องการของประชาชน และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
.
ภายในงานมีการแสดงสัญลักษณ์พลังความร่วมมือ “สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (All for Education)” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและภาคีเครือข่าย ต่อด้วยการรับรองมติสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติ มติที่ 1) “การส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตเพื่อเพิ่มโอกาสทางการเรียนสู่การทำงานในโลกยุคใหม่” มติที่ 2) “การหนุนเสริมระบบนิเวศชุมชนสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดย ดร.นิติ นาชิต รองเลขาธิการสภาการศึกษา
.
หลังจากนั้นเป็นการเสวนา เรื่อง “พ.ร.บ.การศึกษามากี่โมง ? : ไขข้อข้องใจ ปลดล็อคการศึกษาไทย ไปต่ออย่างไรเมื่อ พ.ร.บ. ยังไม่มา” โดย ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา และดร. สวัสดิ์ ภู่ทอง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย และอดีตรองเลขาธิการสภาการศึกษา ดำเนินรายการโดย ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษาและกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและจัดการความรู้ ต่อด้วยการปาฐกถา เรื่อง “สมัชชาสภาการศึกษา กับ ศึกษาธิการจังหวัด : หนุนเสริม Area-based Education อย่างไรให้ตรงใจคนในพื้นที่” โดย นายวีรัตน์ สานุมิตร ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย
.
ปิดท้ายด้วยการเสวนาเวทีด้านการศึกษา 4 ภาค “สร้างส่วนร่วม สร้างพลัง สานสัมพันธ์ความร่วมมือ”
ทั้ง 1) ภาคเหนือ 2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก 4) ภาคใต้ และ 5) หน่วยงานส่วนกลาง พร้อมทั้งมีการนำเสนอผลการหารือจากเวทีด้านการศึกษา 4 ภาค
.
การประชุมในครั้งนี้จะสามารถสร้างภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ รวมทั้งได้ข้อเสนอด้านการศึกษา ซึ่งเป็นมติสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติและก่อให้เกิดการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ในการนี้ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ABE การศึกษาเชิงพื้นที่ขับเคลื่อนการศึกษาระดับชาติ” ซึ่งมีใจความสำคัญว่า กุญแจสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็คือ การศึกษาที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการตามบริบทของพื้นที่แตกต่างกัน การศึกษาเชิงพื้นที่ หรือ Area Based Education : ABE เป็นคำตอบของการให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่หรือในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการจัดการศึกษา โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ โดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน กำกับ ดูแลอำนวยความสะดวกให้กับพื้นที่เข้ามาร่วมดำเนินการ ซึ่งการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สำหรับโลกยุคใหม่จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียน เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการพยายามผลักดันให้เกิดกลไกของ “สมัชชาการศึกษา” ให้ครบทุกจังหวัด เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจทางการศึกษาภายใต้หลักการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกันขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตอบสนองกับความต้องการของประชาชน และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
ภายในงานมีการแสดงสัญลักษณ์พลังความร่วมมือ “สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (All for Education)” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและภาคีเครือข่าย ต่อด้วยการรับรองมติสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติ มติที่ 1) “การส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตเพื่อเพิ่มโอกาสทางการเรียนสู่การทำงานในโลกยุคใหม่” มติที่ 2) “การหนุนเสริมระบบนิเวศชุมชนสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดย ดร.นิติ นาชิต รองเลขาธิการสภาการศึกษา
หลังจากนั้นเป็นการเสวนา เรื่อง “พ.ร.บ.การศึกษามากี่โมง ? : ไขข้อข้องใจ ปลดล็อคการศึกษาไทย ไปต่ออย่างไรเมื่อ พ.ร.บ. ยังไม่มา” โดย ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา และดร. สวัสดิ์ ภู่ทอง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย และอดีตรองเลขาธิการสภาการศึกษา ดำเนินรายการโดย ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษาและกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและจัดการความรู้ ต่อด้วยการปาฐกถา เรื่อง “สมัชชาสภาการศึกษา กับ ศึกษาธิการจังหวัด : หนุนเสริม Area-based Education อย่างไรให้ตรงใจคนในพื้นที่” โดย นายวีรัตน์ สานุมิตร ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย
ปิดท้ายด้วยการเสวนาเวทีด้านการศึกษา 4 ภาค “สร้างส่วนร่วม สร้างพลัง สานสัมพันธ์ความร่วมมือ” ทั้ง 1) ภาคเหนือ 2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก 4) ภาคใต้ และ 5) หน่วยงานส่วนกลาง พร้อมทั้งมีการนำเสนอผลการหารือจากเวทีด้านการศึกษา 4 ภาค
การประชุมในครั้งนี้จะสามารถสร้างภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ รวมทั้งได้ข้อเสนอด้านการศึกษา ซึ่งเป็นมติสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติและก่อให้เกิดการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป