สกสค. จับมือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนุน 7 โครงการหลัก ภายใต้แผนพัฒนา 4 ปี (2567-2570) ร่วมวิจัยและพัฒนา สื่อการเรียนการสอน ตามยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพ ครูและบุคลากรทางการศึกษา

วันที่ 6 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเทพหัสดิน ชั้น 1 อาคารสำนักงาน คณะกรรมการ สกสค. ดร.พีระพันธ์ เหมะรัต เลขาธิการคณะกรรมการ สกสค. ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านวิชาการ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการ สกสค. ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ และนางสาวชนนิกานต์ สืบชนะ พร้อมด้วยผู้บริหาร สกสค. ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามครั้งนี้

ดร.พีระพันธ์ เหมะรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการ สกสค. กล่าวว่า “มีพันธกิจในการดำเนินงานด้านส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงในเรื่องสื่อการเรียน การสอน วัสดุอุปกรณ์การศึกษาและเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา การดำเนินงานด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพและผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 และแผนปฏิบัติการในระยะ4 ปี (2567-2570) ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพ โดยมีแผนงานโครงการรับรอง7 โครงการ เพื่อให้การขับเคลื่อนการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยฯ บรรลุเป้าหมาย สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ได้รับความร่วมมือจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะดำเนินการความร่วมมือ ด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะด้านการพัฒนา การจัดการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้มีการประสานความร่วมมือของหน่วยงานที่มีพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานร่วมกัน ลดต้นทุนที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงาน ครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้รับบริการอีกด้วย”