เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ที่วัดขันแก้ว ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายชลิต ทิพย์คำ นายอำเภอหางดง เป็นประธานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู ระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน มีพระครูอาทรวิสุทธิคุณ เจ้าคณะอำเภอหางดง เจ้าอาวาสวัดหนองตอง ประธานสงฆ์ นำพระสงฆ์จากตัวแทนวัด ประกอบด้วยเจ้าอาวาสวัดขันแก้ว วัดท้าวบุญเรือง วัดทรายมูล วัดคีรีเขต วัดผาสุการาม ลงนามการลงนาม MOU กับฝ่ายปกครอง 5 คำบล ประกอบด้วยนายมานพ แก้วดี กำนันตำบลหารแก้ว นายเจริญศรีวิลัย กำนันตำบลบ้านแหวน นายอินสม สิงห์คำ กำนันตำบลบ้านปง นายชนิตพงศ์ ไชยพัฒน์อมร กำนัน ตำบลหางดง และนายจิรวัฒน์ แก้ว
น้อย กำนันตำบลสันผักหวาน
การลงนามดังกล่าว เป็นไปตามนโยบาย กระทรวงมหาดไทย ที่ให้จังหวัดขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระ เกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 72 พรรษา โดยขยายผลการดำเนินงานโครงการให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ประกอบกับกระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงกรสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5 ขยายผลสู่หมู่บ้านศีลธรรม” ตามนโยบายดังกล่าว
ทั้งนี้การดำเนินการตามโครงการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุ ประสงค์อย่างยั่งยืน จึงจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่าง ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล คณะสงฆ์ และกำนันในพื้นที่เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)
ให้บรรลุตัวชี้วัด 8 เรื่อง คือ (1) ที่อยู่อาศัย โดยต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ครัวเรือนมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ (2) ความมั่นคงทางอาหาร โดยใช้ประโยชน์ของพื้นที่สร้างความมั่นคง ด้านอาหาร ตามโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” (3) ความสะอาด โดยบ้านเรือน หมู่บ้าน ชุมชน สะอาด มีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน มีการคัดแยกขยะต้นทาง (3R) และมีการจัดการขยะหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น ตลาดนัดขยะ ธนาคารขยะ จุดทิ้งขยะอันตราย เป็นต้น (4) ความสามัคคี โดยมีการรวมตัวกันเป็นคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน ฯลฯ เพื่อดูแลช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยกัน (5) ความร่วมมือ โดยมีการประชุม พบปะกันเป็นประจำในระดับคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน ในลักษณะ “ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์”
(6) การปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการ
จัดกิจกรรมทางศาสนาในระดับหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นประจำตามความศรัทธา ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม ของคนในหมู่บ้าน (7) ความมั่นคงปลอดภัย หมู่บ้าน
/ชุมชน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีการช่วยเหลือคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน ไม่ให้ติดยาเสพติด ลดความเสี่ยงด้านกายภาพ (ไฟฟ้า, ถนน, ภัยพิบัติ, อุบัติเหตุ) ปลอดอาชญากรรม และ (8) การมีน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภค และบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปีโดยมีภาชนะกักเก็บน้ำรูปแบบต่างๆ มีการบำรุงรักษาฟื้นฟูแหล่งกักเก็บน้ำเดิมหรือจัดทำแหล่งกักเก็บน้ำตามเอ็มโอยู
ดังกล่าวด้วย