สอศ. ประกาศ‼️ผู้ชนะสุดยอดการแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวะ ระดับแห่งชาติ ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2567

 

เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 67 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีปิดงาน “มหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา” การแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ระดับชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2567 ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีนายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวรายงาน พร้อมด้วยข้าราชการ บุคลากร นักเรียนและนักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เข้าร่วม ณ ห้อง ไดมอนด์ ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ได้เป็นตัวชี้วัดของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ ที่แสดงถึงขีดความรู้ ความสามารถของคนในชาติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าสู่ระดับสากล จะเห็นว่านักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ได้นำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีหลากหลายสาขาวิชาชีพ มาพัฒนา ประดิษฐ์และคิดค้นหุ่นยนต์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศ ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขอแสดงความยินดี ชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับทีมหุ่นยนต์อาชีวศึกษาทุกทีม ที่เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษาในระดับชาติ

ด้านนายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การจัดงาน “มหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา” การแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ระดับชาติ ในครั้งนี้ เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ระดับชาติ เพื่อชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์การค้าเชียร์ รังสิต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมีกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ การแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนอาชีวศึกษา จำนวน 16 ทีม การแข่งขันหุ่นยนต์ ABU อาชีวศึกษา จำนวน 59 ทีม การแข่งขันหุ่นยนต์บริการอัจฉริยะอาชีวศึกษา จำนวน 32 ทีม และการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมอาชีวศึกษา จำนวน 32 ทีม

ทั้งนี้มีสถานศึกษาที่ได้รับรางวัล ดังนี้
ประเภทการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนอาชีวศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ทีมชนัตถ์ FC โรงเรียนตำรวจตระเวนชานแดนชนัตถ์ปิยะอุย
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาแตรว โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาแตรว
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีม HM3 (เอชเอ็มทรี) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง (คล้ายคลึงอุปถัมภ์)
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 ทีม Samer.Bpp.Robot โรงเรียนศูนย์การเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแผ่นดินเสมอ
รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ทีม HM3 (เอชเอ็มทรี) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง (คล้ายคลึงอุปถัมภ์)
รางวัลความคิดสร้างสรรค์ออกแบบหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม ทีมหลานพระเจ้าตาก โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมว

ประเภทการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU อาชีวศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ทีมขุนด่านปราการชล วิทยาลัยเทคนิคนครนายก
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีม LTC.Robot วิทยาลัยเทคนิคลำพูน
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีมนายฮ้อยทมิฬ Legend Two วิทยาลัยเทคนิคสว่างแดนดิน
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 ทีมยูคาลิปตัส วิทยาลัยการอาชีพกบินทร์บุรี
รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ทีม LB.Tech Robot วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี
รางวัลความคิดสร้างสรรค์ออกแบบหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม ทีม KTC.DINOROBOT วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์

ประเภทการแข่งขันหุ่นยนต์บริการอัจฉริยะอาชีวศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ทีมศรีอินทนิล วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีมเจ้าลำพระเพลิง วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีมพญาเห็ดโคน วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 ทีมโปงลางโรบอท วิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์
รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ทีมเมืองร้อยเกาะ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
รางวัลความคิดสร้างสรรค์ออกแบบหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม ทีมข้าวหอมมะลิ 101 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด

ประเภทการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมอาชีวศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ทีมโอ่งมังกร 2024 วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีมพรหมณี วิทยาลัยการอาชีพนครนายก
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีมบ้านแพ้ว วิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 ทีมอินทนนท์โรโมติก วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง
รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ทีม KTC.DINOROBOT วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์
รางวัลความคิดสร้างสรรค์ออกแบบหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม ทีมหลานย่าโม วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา