ไม่ใช่เรื่องง่าย
การก้าวย่างสู่ความสำเร็จในวันนี้
สำหรับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮังสามัคคี จำกัด แห่งบ้านโคกสะอาด ต.อุ่นจาน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร ที่ผลิตข้าวพื้นเมืองและข้าวหอมมะลิ105 บรรจุถุงภายใต้แบรนด์
“กลุ่มข้าวหอมดอกฮัง
“ เลิง ภาษาอีสานหมายถึงที่ราบลุ่ม ส่วน ฮัง คือต้นรัง เมื่อนำมารวมกันหมายถึงที่ราบเต็มไปด้วยต้นรัง จึงเป็นที่มาชื่อเดิมของหมู่บ้านชื่อ
“บ้านน้อยเลิงฮัง
“ ก่อน
จะมาเปล
ี่ยนชื่อเป็น
“บ้านโคกสะอาด
” ในเวลาต่อมาตามภาษาเรียกของทางราชกา
ร
“การตั้งชื่อสหกรณ์ ชาวบ้านอยากใช้ชื่อเดิมของหมู่บ้าน เพื่อย้อนรำลึกถึงอดีตที่มีความสัมพันธ์ ผูกพันกัน มีความสามัคคีกัน จึงนำมาใช้เป็นชื่อของสหกรณ์” นายดาวิทย์ พุทธิไสย เลขานุการคณะกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮังสามัคคี จำกัด ย้อนอดีตที่มาของชื่อสหกรณ์ฯ ที่คณะกรรมการและสมาชิกทุกคนเห็นพ้องต้องกันในการใช้ชื่อจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ฯ กว่า 40 ปีแล้วที่สหกรณ์แห่งนี้เริ่มจัดตั้งขึ้นจากผู้ก่อการโดยนักเรียนจำนวน 17 คนและครู 1 คน ปัจจุบันกลุ่มผู้ก่อการทั้ง 18 คนยังดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการสหกรณ์ฯ อยู่ในชุดปัจจุบัน สร้างผลงานโดดเด่นจนได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย รางวัลสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นรองอันดับ 1 ระดับจังหวัด ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เนื่องในงานวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2564 หรือรางวัลโครงการประกวดผลงานขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประจำปี 2560 เป็นต้น
นายดาวิทย์ เผยต่อว่า นับตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ตั้งแต่ปี 2525 ด้วยเงินทุนก้อนแรก 3,500 บาท จากการซื้อหุ้นของกรรมการและสมาชิก จากนั้นก็ได้ดำเนินกิจการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันและเพิ่งฉลองครบ 41 ปีของการก่อตั้งไปเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวนกว่า 6,000 รายครอบคลุมพื้นที่ 20 หมู่บ้าน และวันนี้มีเงินทุนหมุนเวียนทั้งสิ้นกว่า 120 ล้านบาท
“สิ่งที่เราภูมิใจคือเราไม่ได้ใช้เงินทุนจากข้างนอกเลย ไม่ได้ไปกู้เงินจากใครที่ไหน ใช้เงินทุนภายในของเราเองทั้งหมด เพราะเรามีจุดยืนที่ว่า พัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาสังคม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง ร.9 ในการดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน” เลขานุการสหกรณ์ฯ คนเดิมเผยเขายอมรับว่าปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมา สิ่งที่เราเจอมากที่สุดก็คือองค์ความรู้ในการบริหารจัดการบัญชี จึงได้พยายามเรียนรู้จากการไปศึกษาดูงามตามสหกรณ์ต่าง ๆ และนำมาปรับใช้กับสหกรณ์ฯ
ของเราเอง และโชคดีที่มีสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดสกลนครและที่สำคัญชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย คอยให้คำแนะนำเป็นพี่เลี้ยงให้เราตลอดมา นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้เราก้าวหน้ามาจนวันนี้ได้ก็เป็นเรื่องเบญคุณธรรมเครดิตยูเนี่ยน ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นใจและไว้วางใจกัน ทำให้สามารถขับเคลื่อนสหกรณ์มาจนถึงวันนี้
“วันนี้มีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ที่ 120 ล้านบาท มีสำนักงานเป็นของตัวเองและที่ยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือการถ่ายทอดองค์ความรู้พัฒนากระบวนการข้าว สมาชิกสหกรณ์กว่า 90% มีอาชีพทำนาอาศัยน้ำฝน ทำได้ปีละครั้ง แต่ที่เราอยู่ได้โดยนำผลผลิตข้าวที่ได้มาแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ภายใต้แบรนด์ “กลุ่มข้าวหอมดอกฮัง” นายดาวิทย์ ระบุ
ปัจจุบันสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮังสามัคคี จำกัด มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหลายชนิด นอกจากข้าวหอมบรรจุถุง ๆ ละ 1 กิโลกรัม สนนราคา 120 บาท มีทั้งข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวหอมนิล ข้าวหอมแดง ตลอดจนข้าวหอมพื้นเมืองสายพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า 300 สายพันธุ์แล้วยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว อาทิ สบู่ข้าว น้ำมันรำข้าว ครีมบำรุงผิวและอื่น ๆ อีกมากมาย
“การทำนาปลูกข้าวพื้นเมืองหอมดอกฮังของสมาชิกสหกรณ์ เราจะทำนาแบบประณีตดั้งเดิม อินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ยังร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสกลนครมาทำการวิจัยสารอาหารจากข้าวแต่ละชนิดเพื่อให้เหมาะกับผู้บริโภค เช่น ข้าวเหนียวแดงเหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน ข้าวฮับน้อยเหมาะกับผู้บริโภคที่เป็นความดันโลหิตสูง อย่างนี้เป็นต้น” เลขานุการสหกรณ์ฯ คนเดิมกล่าว
ด้านนางสาวยุพดี สารทอง สหกรณ์จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดสกลนครมีสหกรณ์ 89 แห่ง มีสมาชิกทั้งสิ้น 175,283 คน มีปริมาณธุรกิจรวมของสหกรณ์กว่า 37,967 ล้านบาท มีกลุ่มเกษตรกร 77 กลุ่ม มีสมาชิกทั้งสิ้น 6,135 คน ปริมาณธุรกิจรวมของกลุ่มเกษตรกรกว่า 241.75 ล้านบาท โดยเฉพาะสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮังสามัคคี จำกัด มีความโดดเด่นในเรื่องความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจจากสมาชิกสูงมาก สหกรณ์จึงไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องหนี้ เนื่องจากสมาชิกมีรายได้ สามารถส่งคืนได้ในเวลาที่กำหนด นอกจากนั้นแล้วสหกรณ์แห่งนี้ยังเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ดีแก่สมาชิก โดยมีทั้งการให้ความรู้ทางการเงินก่อนการเป็นสมาชิก การจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาทางการเงิน ตลอดจนการวางแผนการใช้จ่ายเงินของสมาชิกและการส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน
“สหกรณ์เขาไม่มีปัญหาในเรื่องเงิน ไม่มีหนี้ค้างชำระ ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเองก็ส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ตามที่เขาต้องการ ทั้งยังพาคณะกรรมการไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้วย เพื่อจะได้นำองค์ความรู้มาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานของสหกรณ์” สหกรณ์จังหวัดสกลนคร กล่าวย้ำ
อย่างไรก็ตาม จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้สหกรณ์ฯ ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย อาทิ รางวัลสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นรองอันดับ 1 ระดับจังหวัด ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เนื่องในงานวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2564 รางวัลสหกรณ์ดีเด่นระดับจังหวัด ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 รางวัลการบริหารจัดการที่ดี (CUQA) และมีการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้นแบบ ประจำปี 2560 โดยชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด รางวัลการถือหุ้นสะสมต่อเนื่องกับชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้นแบบ ประจำปี 2560 โดยชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด รางวัล TOP TEN ปริมาณธุรกิจ ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ประจำปีบัญชี 2559 จัดโดยสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5 และรางวัลโครงการประกวดผลงานขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประจำปี 2560 อีกด้วย